Category Archives: การบริการบนอินเตอร์เน็ต

เรื่องป่าที่ไม่ธรรมดา อุทยานแห่งชาติยาซูนี

ทำเล ที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติยาซูนี ช่วยโอบอุ้มความรุ่มรวยเหล่านี้เอาไว้ โดยตั้งอยู่ตรงจุดตัดระหว่างเทือกเขาแอนดีส เส้นศูนย์สูตร และภูมิภาคลุ่มน้ำอะเมซอน อันเป็นทำเลทองทางนิเวศวิทยา ที่ซึ่งพืชพรรณ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในแถบอเมริกาใต้ มากระจุกกันอยู่อย่างมากมาย ฝนตกหนักเกือบทุกวันตลอดทั้งปี และมีสัญญาณบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลน้อยมาก แสงแดด ความอบอุ่น และความชุ่มชื้นเป็นปัจจัยอยู่คู่กับผืนป่าชั่วนาตาปี

พื้นที่แถบนี้ของลุ่มน้ำอะเมซอน ยังเป็นบ้านของชนพื้นเมืองสองกลุ่ม ได้แก่ ชนเผ่าคิชวาและชนเผ่าเวารานี ซึ่งตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายตลอดแนวถนนและแม่น้ำสายต่างๆ การติดต่อสัมพันธ์ครั้งแรกระหว่างชาวเวารานีกับกลุ่มหมอสอนศาสนาคริสต์นิกาย โปรเตสแตนต์เกิดขึ้นอย่างสันติในช่วงปลายทศวรรษ 1950 ทุกวันนี้ ชุมชนชาวเวารานีส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการค้า และแม้กระทั่งกิจกรรมการท่องเที่ยวกับโลกภายนอก ไม่ต่างจากชาวคิชวา ซึ่งเป็นอดีตชนเผ่าคู่อาฆาต กระนั้นชนเผ่าเวารานีสองกลุ่มได้หันหลังให้การติดต่อกับโลกภายนอก และเลือกที่จะเร่ร่อนอยู่ในพื้นที่ป่าสูงขึ้นไป ที่เรียกกันว่า โซนาอินตันคีเบล (Zona Intangible) หรือเขตหวงห้ามที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองคนเหล่านี้ แต่โชคร้ายที่บริเวณนี้ ซึ่งทับซ้อนกับพื้นที่ทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติยาซูนี ไม่ได้ครอบคลุมถิ่นหากินดั้งเดิมทั้งหมดของพวกเขา ส่งผลให้นักรบของสองกลุ่มเข้าทำร้ายและขับไล่ผู้ที่เข้ามาตั้งรกรากและตัด ไม้ ทั้งภายในและภายนอกเขตหวงห้าม

อย่างไรก็ตาม ลึกลงไปใต้พื้นดินอุทยานแห่งชาติยาซูนี ยังมีขุมทรัพย์อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างเร่งด่วนสำหรับสายใยชีวิตอันล้ำค่าบนผิวดิน นั่นคือน้ำมันดิบแห่งอะเมซอน ปริมาณหลายร้อยล้านบาร์เรลที่ยังไม่ถูกขุดเจาะขึ้นมาใช้ ในช่วงหลายปีมานี้ รัฐบาลและบริษัทน้ำมันร่วมกันกำหนดเขตสัมปทานน้ำมันทับพื้นที่อุทยาน ขณะที่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมีชัยเหนือการอนุรักษ์ในการต่อสู้เพื่อกำหนด ชะตากรรมของอุทยานแห่งนี้ มีแปลงสัมปทานอย่างน้อยห้าแปลงครอบคลุมพื้นที่ทางเหนือของอุทยาน สำหรับประเทศยากจนอย่างเอกวาดอร์ แรงกดดันให้ขุดเจาะน้ำมันนั้น แทบจะเรียกได้ว่าต้านทานไม่ไหวเลยทีเดียว รายได้จากการส่งออกครึ่งหนึ่งของเอกวาดอร์มาจากน้ำมันอยู่แล้ว โดยเกือบทั้งหมดมาจากจังหวัดทางตะวันออกในลุ่มน้ำอะเมซอน

การท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเชิงนิเวศน์กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

การท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเชิงนิเวศน์ ถือเป็นการท่องเที่ยวเพื่อเข้าไปสัมผัสธรรมชาติและเพื่อการเรียนรู้ธรรมชาติ กิจกรรมหรือกำหนดการของนักท่องเที่ยวจึงมีความสำคัญ ต้องเป็นไปอย่างเรียบง่ายสอดคล้องกับธรรมชาติโดยไม่ส่งผลกระทบต่อป่าและ สัตว์ป่า โดยเฉพาะเยาวชนที่จะได้เรียนรู้ธรรมชาติอย่างเป็นระบบถูกต้องโดยนักสื่อความหมายทางธรรมชาติ เนื่องจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์มีหลักการที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือจำนวนของนักท่องเที่ยว ทั้งนี้เนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติเกือบทุกแห่งเป็นพื้นที่ที่มี ความเปราะบาง มีความสำคัญต่อสัตว์ป่า ซึ่งเมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้าไปเป็นจำนวนมากในคราวเดียวหรืออาจเข้าไปจำนวน น้อยแต่หลายครั้ง ก็จะส่งผลกระทบต่อธรรมชาติได้

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติของประเทศไทย

เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ คือต้องการอนุรักษ์สภาพธรรมชาติของพื้นที่ให้คงอยู่ตามธรรมชาติ ป้องกันการรบกวนโดยมนุษย์โดยเฉพาะทรัพยากรที่สำคัญ เช่น สัตว์ป่า พืชพรรณ และลักษณะธรรมชาติที่สวยงามเป็นพิเศษ รวมทั้งแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมที่สำคัญเพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากในเขตอุทยานแห่งชาติมีทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะกับการใช้ประโยชน์ทางการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดความสุขกายสุขใจ และช่วยผ่อนคลายความเครียดจากการปฏิบัติงานประจำ เพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัย พื้นที่อุทยานแห่งชาติ สามารถจัดเป็นห้องทดลองทางธรรมชาติกลางแจ้ง ที่สามารถค้นคว้าวิจัยไม่มีที่สิ้นสุดของนักศึกษา นักวิทยาศาสตร์ และประชาชนทั่วไป

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในปัจจุบัน

ยังมิได้นำหลักการของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ไปปฏิบัติได้อย่างจริงจังในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งทำให้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเกือบทุกแห่งเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวยังขาดความรู้ในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์หรือในบางคณะยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเป็นอย่างมาก ผู้จัดการท่องเที่ยวยังขาดความรู้และทักษะการจัดการในการจัดกิจกรรมในพื้นที่ทางธรรมชาติ และองค์กรที่รับผิดชอบพื้นที่ธรรมชาติดังเช่น กรมป่าไม้ ยังขาดความชัดเจนในด้านนโยบายและแผนปฏิบัติการณ์ที่จะควบคุมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้อยู่ในความเหมาะสมได้

การปฏิบัติตนในอุทยานแห่งชาติ

1. ปฏิบัติตนตามกฏระเบียบขอทางอุทยานฯ ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
2. ดูแลรักษาสภาพธรรมชาติให้คงความงดงามตามธรรมชาติมากที่สุด
3. ควรเคารพสิทธิ์ผู้อื่นในการเข้ใจพื้นที่ธรรมชาติร่วมกัน
4. ไม่ส่งเสียงดัง อันจะเป็นการรบกวนผู้อื่นหรือรบกวนความเป็นอยู่ของสัตว์ป่า
5. การเดินป่าศึกษาธรรมชาติควรเดินตามเส้นทางที่กำหนดไว้ไม่ควรเดินออกนอกเส้นทาง เดินถาวร ซึ่งอาจจะไปเหยียบย่ำพืชพรรณหรือสัตว์เล็กๆ
6. ห้ามเก็บ หรือนำออก หรือกระทำการใดๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อสภาพของก้อนหิน พืชพรรณ และสัตว์ป่าในเขตอุทยาน
7. ห้ามนำสัตรว์เลี้ยงเข้าไปในเขตอุทยานฯ เพราะอาจจะเป็นการนำโรคเข้าไปแพร่ในธรรมชาติ
8. ไม่ควรก่อไฟในอุทยานฯ เพราะการก่อไฟจำเป็นจะต้องใช้พืชในธรรมชาติ และก่อเกิดมลพิษ
9. ไม่ควรนำสิ่งที่จะก่อให้เกิดขยะเข้าไปในอุทยานฯ
10. เมื่อพบเห็นการทำผิดกฏระเบียบอุทยานฯ หรือการกระทำอันเป็นผลกระทบต่อธรรมชาติ กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เพื่อดำเนินการต่อไป
11. ร่วมกันชักชวนให้เพื่อฝูง หรือเพื่อนร่วมทาง ช่วยกันดูแลรักษาธรรมชาติ

โลกออนไลน์ ตื่นตาฝูงนกแก้วปีกสีน้ำเงินคล้ำที่อุทยานแห่งชาติ Yasuni พื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่ดีที่สุด

หากคุณกำลังมองหาแหล่งท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ขอแนะนำว่าคุณต้องไม่พลาดโอกาสไปเยือน อุทยานแห่งชาติ Yasuni อุทยานแห่งชาติที่อยุ่ในเขตพื้นที่ของจังหวัดนาโป (Napo) และ จังหวัดปัสตาซา (Pastaza province) เป็นอุทยานที่มีพื้นที่กว่า 9,820 ตารางกิโลเมตร อุทยานแห่งชาติ Yasuni ตั้งอยู่ตรงจุดตัดระหว่างเทือกเขา แอนดีส เส้นศูนย์สูตร และภูมิภาคลุ่มน้ำแอมะซอน นอกจากนี้ยังเป็นอุทยานแห่งชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยเหล่าพืชพรรณ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และเป็น 1 ใน 9 ของสถานที่ในโลกที่มีความหลากหลายของพืชพันธ์มากกว่า 4,000 ชนิด ต่อ 10,000 ตารางกิโลเมตร

38_201301080949132.
หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่เป็นนักดูนกตัวยง โดยเฉพาะสาวกคนรัก นกแก้ว หรือ ฝูงนกแก้วปีกสีน้ำเงินคล้ำ ขอแนะนำว่าคุณต้องไม่พลาดโอกาสไปเยือนอุทยานแห่งชาติยาซูนีสักครั้ง โดยเฉพาะบริเวณ “นาโป ริเวอร์ เคลย์ ลิก” (Napo River Clay Lick) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โป่งดินนาโป (แอ่งดินเค็มธรรมชาติ) ซึ่งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำนาโป (Napo River) ในอุทยานแห่งชาติยาซูนี

โดยบริเวณโป่งดินแห่งนี้จะมีนกแก้วปีกสีน้ำเงินคล้ำเป็นจำนวนมากมากินโป่งดินบริเวณริมแม่น้ำดังกล่าว เนื่องจากในดินนั้นมีแร่โซเดียมหรือเกลือธรรมชาติ เนื่องจากร่างกายของสัตว์ป่าเหล่านั้นขาดเกลือแร่ดังกล่าว นกแก้วเหล่านี้จึงต้องการเกลือแร่ไปบำรุงร่างกายให้แข็งแรงนั่นเองค่ะ สำหรับนักท่องเที่ยวท่านใดที่ต้องการเดินทางไปเที่ยวชมนกแก้วปีกสีน้ำเงินคล้ำที่แอ่งดินริมฝั่งแม่น้ำนาโป ขอแนะนำว่าควรมาในช่วงระหว่างเดือนกันยายน-เดือนธันวาคม ส่วนในเดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคมนั้นจะเป็นช่วงเดือนที่มีฝนตกชุกมากค่ะ ถ้าไม่มีโอกาสได้ไปก็สามารถดูคลิปออนไลน์ได้ค่ะ