Tag Archives: อุทยานแห่งชาติ

การเตรียมตัวไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติในประเทศไทยบางแห่งเท่านั้นที่มีบ้านพักบริการ ส่วนใหญ่จะมีที่กางเต็นท์พร้อมห้องสุขาและห้องอาบน้ำ บางแห่งมีร้านค้าร้านอาหาร บางแห่งยังอยู่ในระหว่างการจัดตั้งหรือปรับปรุง จึงอาจไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ เลย ดังนั้นก่อนการเดินทางไป ท่องเที่ยวควรศึกษาข้อมูลของแต่ละอุทยานแห่งชาติให้ดี สำรองที่พักไม่ว่าจะเป็นบ้านพัก ค่ายพัก หรือพักแรมโดยเต็นท์ รวมทั้งกำหนดจุดหมายของการเดินทางไปท่องเที่ยวให้ชัดเจน เพื่อเตรียมสภาพร่างกายและอุปกรณ์การเดินทางให้ถูกต้อง การท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติมีข้อที่พึงทราบ ดังนี้

อาหารการกิน

อุทยานแห่งชาติส่วนใหญ่มีร้านอาหารให้บริการ ผู้ที่ไม่นิยมการปรุงอาหารรับประทางเอง ก็สามารถฝากท้องไว้กับร้านอาหารในอุทยานแห่งชาติได้ ส่วนบางอุทยานแห่งชาติที่ไม่มีร้านอาหาร นักท่องเที่ยวต้องเตรียมตัวสำหรับการทำอาหารเอง ซึ่งมิใช่เรื่องยาก อุปกรณ์ที่ต้องนำไป เช่น หม้อ กะทะ มีด เขียง จาน ช้อนส้อม ฯลฯ ที่สำคัญคือเตาแก๊สปิกนิก หรือเตาอั้งโล่พร้อมถ่าน เพราะในเขตอุทยานแห่งชาติไม่อนุญาตให้ก่อไฟโดยใช้ฟืน ส่วนวัตถุดิบพวกอาหารสดอาหารแห้งสามารถหาซื้อก่อนที่จะเดินทางเข้าอุทยานแห่งชาติได้ อย่างไรก็ตามควรติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติว่ามีร้านอาหารบริการหรือไม่ และเปิดปิดเวลาเท่าไร บางแห่งแม้จะไม่มีร้านอาหาร แต่สามารถติดต่อให้แม่บ้านของอุทยานแห่งชาติช่วยจัดทำอาหารให้ได้ตามราคาที่ตกลงกัน

ฤดูกาลท่องเที่ยว

อุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งมีฤดูกาลท่องเที่ยวแตกต่างกัน บางแห่งไปเที่ยวช่วงฤดูหนาวจะสวยที่สุด บางแห่งไปเที่ยวช่วงฤดูร้อนสวยที่สุด ผู้สนใจจึงควรหาข้อมูลก่อนออกเดินทาง โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่เป็นหมู่เกาะกลางทะเลจะมีฤดูกาลท่องเที่ยวจำกัด เนื่องจากติดหน้าลมมรสุมในฤดูต่าง ๆ อุทยานแห่งชาติทางทะเลฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งอันดามัน มีฤดูการท่องเที่ยวแตกต่างกัน หากไปผิดฤดู ก็ไม่สามารถหาเรือหรือเดินทางไปถึงอุทยานแห่งชาติได้ สำหรับอุทยานแห่งชาติทางบก บางแห่งปิดไม่ให้ท่องเที่ยวในบางช่วงฤดูกาล เช่นที่ยอดดอยภูกระดึงของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง แต่ส่วนใหญ่จะเปิดตลอดทั้งปี มีเพียงเรื่องการเดินทางเท่านั้น ที่อาจเป็นอุปสรรค โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน เส้นทางเข้าอุทยานแห่งชาติบางแห่งอาจยากลำบากและทุรกันดาร ต้องอาศัยรถที่มีกำลังขับเคลื่อนสูง นอกจากนี้ในช่วงฤดูฝน ถ้ำและน้ำตกบางแห่งอาจไม่ปลอดภัยสำหรับการท่องเที่ยว เพราะมีน้ำไหลท่วมภายในถ้ำหรือน้ำป่าไหลหลากรุนแรงจนไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำในบริเวณน้ำตก

การแต่งกาย

สำหรับการไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติที่เป็นป่าเขา ควรใช้เสื้อผ้าสีเรียบ ๆ ที่กลมกลืนกับธรรมชาติ เช่น สีเทา สีน้ำเงิน สีเขียว สีน้ำตาล เป็นต้น เพราะหากเดินในเส้นทางศึกษาธรรมชาติและจะช่วยให้มีโอกาสพบเห็นสัตว์ป่ามากขึ้น การสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวจะช่วงป้องกันยุงและแมลงกัดต่อย รองเท้าควรเป็นร้องเท้าหุ้มส้น อุทยานแห่งชาติบางแห่งมีทากชุกชุม การสวมถุงเท้ากันทากจะช่วยให้ทากไม่สามารถกัดบริเวณเท้าของเราได้ (แต่มันอาจไต่ไปกัดส่วนอื่น) นอกจากนี้ก็ควรมีหมวกไว้สวมกันแดด หนาม หรือแมลง สำหรับการไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติทางทะเลแต่งกายด้วยชุดลำลองโปร่งสบาย อย่าลืมหมวกกันแดด ครีมกันแดด และแว่นกันแดด

การเตรียมตัวและการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ


อุทยานแห่งชาติในประเทศไทยบางแห่งเท่านั้นที่มีบ้านพักบริการ ส่วนใหญ่จะมีที่กางเต็นท์พร้อมห้องสุขาและห้องอาบน้ำ บางแห่งมีร้านค้าร้านอาหาร บางแห่งยังอยู่ในระหว่างการจัดตั้งหรือปรับปรุง จึงอาจไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ เลย ดังนั้นก่อนการเดินทางไป ท่องเที่ยวควรศึกษาข้อมูลของแต่ละอุทยานแห่งชาติให้ดี สำรองที่พักไม่ว่าจะเป็นบ้านพัก ค่ายพัก หรือพักแรมโดยเต็นท์ รวมทั้งกำหนดจุดหมายของการเดินทางไปท่องเที่ยวให้ชัดเจน เพื่อเตรียมสภาพร่างกายและอุปกรณ์การเดินทางให้ถูกต้อง การท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติมีข้อที่พึงทราบ ดังนี้

อุทยานแห่งชาติส่วนใหญ่มีร้านอาหารให้บริการ ผู้ที่ไม่นิยมการปรุงอาหารรับประทางเอง ก็สามารถฝากท้องไว้กับร้านอาหารในอุทยานแห่งชาติได้ ส่วนบางอุทยานแห่งชาติที่ไม่มีร้านอาหาร นักท่องเที่ยวต้องเตรียมตัวสำหรับการทำอาหารเอง ซึ่งมิใช่เรื่องยาก อุปกรณ์ที่ต้องนำไป เช่น หม้อ กะทะ มีด เขียง จาน ช้อนส้อม ฯลฯ ที่สำคัญคือเตาแก๊สปิกนิก หรือเตาอั้งโล่พร้อมถ่าน เพราะในเขตอุทยานแห่งชาติไม่อนุญาตให้ก่อไฟโดยใช้ฟืน ส่วนวัตถุดิบพวกอาหารสดอาหารแห้งสามารถหาซื้อก่อนที่จะเดินทางเข้าอุทยานแห่งชาติได้ อย่างไรก็ตามควรติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติว่ามีร้านอาหารบริการหรือไม่ และเปิดปิดเวลาเท่าไร บางแห่งแม้จะไม่มีร้านอาหาร แต่สามารถติดต่อให้แม่บ้านของอุทยานแห่งชาติช่วยจัดทำอาหารให้ได้ตามราคาที่ตกลงกัน

อุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งมีฤดูกาลท่องเที่ยวแตกต่างกัน บางแห่งไปเที่ยวช่วงฤดูหนาวจะสวยที่สุด บางแห่งไปเที่ยวช่วงฤดูร้อนสวยที่สุด ผู้สนใจจึงควรหาข้อมูลก่อนออกเดินทาง โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่เป็นหมู่เกาะกลางทะเลจะมีฤดูกาลท่องเที่ยวจำกัด เนื่องจากติดหน้าลมมรสุมในฤดูต่าง ๆ อุทยานแห่งชาติทางทะเลฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งอันดามัน มีฤดูการท่องเที่ยวแตกต่างกัน หากไปผิดฤดู ก็ไม่สามารถหาเรือหรือเดินทางไปถึงอุทยานแห่งชาติได้ สำหรับอุทยานแห่งชาติทางบก บางแห่งปิดไม่ให้ท่องเที่ยวในบางช่วงฤดูกาล เช่นที่ยอดดอยภูกระดึงของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง แต่ส่วนใหญ่จะเปิดตลอดทั้งปี มีเพียงเรื่องการเดินทางเท่านั้น ที่อาจเป็นอุปสรรค โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน เส้นทางเข้าอุทยานแห่งชาติบางแห่งอาจยากลำบากและทุรกันดาร ต้องอาศัยรถที่มีกำลังขับเคลื่อนสูง นอกจากนี้ในช่วงฤดูฝน ถ้ำและน้ำตกบางแห่งอาจไม่ปลอดภัยสำหรับการท่องเที่ยว เพราะมีน้ำไหลท่วมภายในถ้ำหรือน้ำป่าไหลหลากรุนแรงจนไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำในบริเวณน้ำตก

สำหรับการไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติที่เป็นป่าเขา ควรใช้เสื้อผ้าสีเรียบ ๆ ที่กลมกลืนกับธรรมชาติ เช่น สีเทา สีน้ำเงิน สีเขียว สีน้ำตาล เป็นต้น เพราะหากเดินในเส้นทางศึกษาธรรมชาติและจะช่วยให้มีโอกาสพบเห็นสัตว์ป่ามากขึ้น การสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวจะช่วงป้องกันยุงและแมลงกัดต่อย รองเท้าควรเป็นร้องเท้าหุ้มส้น อุทยานแห่งชาติบางแห่งมีทากชุกชุม การสวมถุงเท้ากันทากจะช่วยให้ทากไม่สามารถกัดบริเวณเท้าของเราได้ (แต่มันอาจไต่ไปกัดส่วนอื่น) นอกจากนี้ก็ควรมีหมวกไว้สวมกันแดด หนาม หรือแมลง สำหรับการไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติทางทะเลแต่งกายด้วยชุดลำลองโปร่งสบาย อย่าลืมหมวกกันแดด ครีมกันแดด และแว่นกันแดด

 

สุดยอดอุทยานแห่งชาติ น่าเที่ยวในเมืองไทยช่วงปีใหม่ปี 2014

อุทยานแห่งชาติ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ธรรมชาติที่นักท่องเที่ยวหลายคนมักจะวางแผนเดินทางไปเที่ยวเสมอ เพราะความสวยงามของธรรมชาติที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์อยู่ อีกทั้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยวให้เที่ยวชม ไม่ว่าจะเป็นน้ำตก, ทุ่งดอกไม้ป่า, ป่าไม้, สถานที่ทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งสถานที่สุดอันซีนที่แปลกตาซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์อีกมากมาย ช่วงปลายปีนี้หลายคนกำลังวางแผนเดินทางไปเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภูเขา ทะเล หรือต่างประเทศ สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่กำลังมองหาแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่  เว็บไซต์ท่องเที่ยวรายใหญ่ที่สุดในโลก ได้เปิดเผยอันดับรายชื่ออุทยานแห่งชาติในประเทศไทยที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ให้ได้ลิสต์ไปเที่ยวกัน

1. อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีพื้นที่ประมาณ 250,000 ไร่ ครอบคลุมอำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว อุทยานฯ แห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งทะเลแห่งที่สองของประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเล มีเขาหินปูนลักษณะต่าง ๆ ที่มีความงามแตกต่างกันไปตามลักษณะของหินปูนแตกต่างกันไป ไฮไลท์โดดเด่น คือ เขาตะปู หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะเจมส์บอนด์ ที่มีลักษณะเหมือนตะปูอยู่กลางน้ำ
2. อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นดอยภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย มียอดดอยอินทนนท์ เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย มีความสูง 2,599 เมตร มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดปี รวมทั้งพืชพันธุ์ไม้หายากหลายชนิด เช่น กุหลาบพันปี ซึ่งจะออกดอกใน ช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี และมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ น้ำตกแม่ยะ โครงการหลวงดอยอินทนนท์ น้ำตกวชิรธาร น้ำตกแม่กลาง น้ำตกสิริภูมิ ถ้ำบริจินดา น้ำตกแม่ปาน น้ำตกทรายเหลือง พระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ เป็นต้น
3. อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม และอำเภอคีรีรัฐนิยม มีพื้นที่ 461,712 ไร่ มีป่าไม้และสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ไม้หายากที่พบในเขตอุทยานฯ ได้แก่ ปาล์มหลังขาว และ บัวผุด เป็นดอกไม้ขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 10-25 นิ้ว ขึ้นอยู่บนพื้นดิน จะบานในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ส่วนสัตว์หายากที่น่าสนใจ ได้แก่ กบทูด และ ปลามังกร ช่วงเวลาที่เหมาะจะเดินทางมาท่องเที่ยวคือ เดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน นอกจากนั้นอุทยานฯ ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจ คือ การล่องแก่ง เดินป่า นั่งช้าง ดูนก และเดินศึกษาเส้นทางธรรมชาติ
4. อุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่ครอบคลุม อำเภอเมือง อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอไทรโยค มีที่เที่ยวโดเด่น คือ น้ำตกเอราวัณ หรือถ้าเรียกให้ถูกก็คือน้ำตกในอุทยานแห่งชาติเอราวัณนั่นเอง น้ำตกแห่งนี้เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกาญจนบุรี และเป็นหนึ่งในน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากๆ อีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดดเด่นด้วยความสวยงามจากลักษณะของน้ำตกหินปูน น้ำที่ไหลผ่านจึงดูใสสะอาดน่าผลัดผ้าลงเล่น
5. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี อุทยานแห่งชาติทางทะเลหมู่เกาะอ่างทอง ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ถึง 42 เกาะ เป็นหมู่เกาะซึ่งใหญ่ที่สุดแห่งท้องทะเลอ่าวไทย จุดเด่นคือ ทะเลใน มองดูคล้ายสระมรกต มีความยาว 250 เมตร กว้าง 200 เมตร และอุโมงค์ใต้น้ำที่เชื่อมกับทะเลเปิด ทำให้มีน้ำขึ้นน้ำลงเช่นทะเลทั่วไป
6. อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บริเวณอุทยานฯมีสถานที่ท่องเที่ยว เช่น จุดชมวิวเขาแดง อยู่บนยอดเขาแดง เวลาที่เหมาะแก่การขึ้นชมวิว คือ เวลาประมาณ 05.30 07.00 น. คลองเขาแดง เหมาะต่อการล่องเรือชมทิวทัศน์และสัตว์นานาชนิดในระบบนิเวศน์ป่าชายเลน นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือได้จากหมู่บ้านเขาแดง และที่หมู่บ้านบางปู โดยลงเรือที่ท่าน้ำหน้าวัดเขาแดง ล่องไปตามลำคลองประมาณ 3-4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง

 

การท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเชิงนิเวศน์กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

การท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเชิงนิเวศน์ ถือเป็นการท่องเที่ยวเพื่อเข้าไปสัมผัสธรรมชาติและเพื่อการเรียนรู้ธรรมชาติ กิจกรรมหรือกำหนดการของนักท่องเที่ยวจึงมีความสำคัญ ต้องเป็นไปอย่างเรียบง่ายสอดคล้องกับธรรมชาติโดยไม่ส่งผลกระทบต่อป่าและ สัตว์ป่า โดยเฉพาะเยาวชนที่จะได้เรียนรู้ธรรมชาติอย่างเป็นระบบถูกต้องโดยนักสื่อความหมายทางธรรมชาติ เนื่องจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์มีหลักการที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือจำนวนของนักท่องเที่ยว ทั้งนี้เนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติเกือบทุกแห่งเป็นพื้นที่ที่มี ความเปราะบาง มีความสำคัญต่อสัตว์ป่า ซึ่งเมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้าไปเป็นจำนวนมากในคราวเดียวหรืออาจเข้าไปจำนวน น้อยแต่หลายครั้ง ก็จะส่งผลกระทบต่อธรรมชาติได้

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติของประเทศไทย

เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ คือต้องการอนุรักษ์สภาพธรรมชาติของพื้นที่ให้คงอยู่ตามธรรมชาติ ป้องกันการรบกวนโดยมนุษย์โดยเฉพาะทรัพยากรที่สำคัญ เช่น สัตว์ป่า พืชพรรณ และลักษณะธรรมชาติที่สวยงามเป็นพิเศษ รวมทั้งแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมที่สำคัญเพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากในเขตอุทยานแห่งชาติมีทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะกับการใช้ประโยชน์ทางการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดความสุขกายสุขใจ และช่วยผ่อนคลายความเครียดจากการปฏิบัติงานประจำ เพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัย พื้นที่อุทยานแห่งชาติ สามารถจัดเป็นห้องทดลองทางธรรมชาติกลางแจ้ง ที่สามารถค้นคว้าวิจัยไม่มีที่สิ้นสุดของนักศึกษา นักวิทยาศาสตร์ และประชาชนทั่วไป

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในปัจจุบัน

ยังมิได้นำหลักการของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ไปปฏิบัติได้อย่างจริงจังในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งทำให้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเกือบทุกแห่งเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวยังขาดความรู้ในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์หรือในบางคณะยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเป็นอย่างมาก ผู้จัดการท่องเที่ยวยังขาดความรู้และทักษะการจัดการในการจัดกิจกรรมในพื้นที่ทางธรรมชาติ และองค์กรที่รับผิดชอบพื้นที่ธรรมชาติดังเช่น กรมป่าไม้ ยังขาดความชัดเจนในด้านนโยบายและแผนปฏิบัติการณ์ที่จะควบคุมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้อยู่ในความเหมาะสมได้

การปฏิบัติตนในอุทยานแห่งชาติ

1. ปฏิบัติตนตามกฏระเบียบขอทางอุทยานฯ ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
2. ดูแลรักษาสภาพธรรมชาติให้คงความงดงามตามธรรมชาติมากที่สุด
3. ควรเคารพสิทธิ์ผู้อื่นในการเข้ใจพื้นที่ธรรมชาติร่วมกัน
4. ไม่ส่งเสียงดัง อันจะเป็นการรบกวนผู้อื่นหรือรบกวนความเป็นอยู่ของสัตว์ป่า
5. การเดินป่าศึกษาธรรมชาติควรเดินตามเส้นทางที่กำหนดไว้ไม่ควรเดินออกนอกเส้นทาง เดินถาวร ซึ่งอาจจะไปเหยียบย่ำพืชพรรณหรือสัตว์เล็กๆ
6. ห้ามเก็บ หรือนำออก หรือกระทำการใดๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อสภาพของก้อนหิน พืชพรรณ และสัตว์ป่าในเขตอุทยาน
7. ห้ามนำสัตรว์เลี้ยงเข้าไปในเขตอุทยานฯ เพราะอาจจะเป็นการนำโรคเข้าไปแพร่ในธรรมชาติ
8. ไม่ควรก่อไฟในอุทยานฯ เพราะการก่อไฟจำเป็นจะต้องใช้พืชในธรรมชาติ และก่อเกิดมลพิษ
9. ไม่ควรนำสิ่งที่จะก่อให้เกิดขยะเข้าไปในอุทยานฯ
10. เมื่อพบเห็นการทำผิดกฏระเบียบอุทยานฯ หรือการกระทำอันเป็นผลกระทบต่อธรรมชาติ กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เพื่อดำเนินการต่อไป
11. ร่วมกันชักชวนให้เพื่อฝูง หรือเพื่อนร่วมทาง ช่วยกันดูแลรักษาธรรมชาติ